บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2011
รูปภาพ
26/10/2554 ผศ.โชติไกร  ไชยวิจารณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต dcm2539@gmail.com    , www.engineer -thai.com จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้และวันก่อน ๆ พบว่า ๑.ปริมาณน้ำเหนือ - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ เวลา ๐๖.๐๐ น. มีปริมาณ ๓๙๓๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๔๐๓๙ และ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ แสดงว่าน้ำจากทางเหนือลดลงแล้วชัดเจน - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา เวลา ๐๖.๐๐ น. วัดปริมาณไม่ได้เนื่องจากน้ำล้นตลิ่ง แต่วัดจากเส้นโค้งน้ำหรือ rating curve ได้ปริมาณ ๔๔๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๓๕๐๓ และ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์นี้อาจเป็นไปได้ว่ามวลของน้ำที่ยังคงมีปริมาณมากที่ไหลลงมาจากทางตอนเหนือ ยังคงเป็นตัวเพิ่มปริมาณน้ำทุ่ง เมื่อผนวกกับน้ำทุ่งที่ยังคงมีปริมาณมากอยู่แล้ว และน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ณ เวลาเดียวกันสูงขึ้นเป็น ๒.๓๓ เมตร (คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์) จึงทำให้เกิดการเอ่อของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาย้อ
24/10/2554 ผศ.โชติไกร  ไชยวิจารณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต dcm2539@gmail.com    , http://www.engineer-thai.com/ -thai.com จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้ พบว่า - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ มีปริมาณ ๔๑๒๘ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานที่ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา มีปริมาณ ๓๔๑๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานที่ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แสดงว่ายอดของมวลน้ำสูงสุดได้ผ่านจุดเหล่านี้ไปแล้ว  แต่กลับพบว่า - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสะพานพระราม ๘ ที่กรุงเทพ ฯ มีปริมาณ ๔๓๐๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แสดงว่ายอดของมวลน้ำสูงสุดอาจยังไม่ผ่านจุดนี้  และผลจากการที่ปริมาณน้ำที่จุดนี้เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาดสูงขึ้นถึงระดับ ๒.๓๔ เมตร ในวันนี้ (คาดการณ์ของกรมชลประทาน) ในขณะที่เมื่อวานอยู่ที่ ๒.๒๕ เมตร โดยเพิ่มขึ้นถึง ๑๑ เซนติเมตร ทั้งที่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเพียง ๓๑ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และนี่คือสัญญาณอันตรายว่า หากน้ำท่าในแม่น

ถุงทราย = คันกั้นน้ำ...แม้ไม่ใช่ทางออกสุดท้าย

พ.ศ.๒๕๕๔ ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถุงทรายหรือกระสอบทรายถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ และเอกชน จนถึงคนทั่วไป ต่างก็ขวนขวายวิ่งซื้อ วิ่งหาถุงทรายกันยกใหญ่ จนกระทั่งขาดตลาดและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากกระสอบละไม่กี่บาทจนถึง ๔๐-๕๐ บาท ซึ่งเกือบครึ่งของราคาข้าวสารทีเดียว จนผมเองคิดจะไปซื้อข้าวสารมาทำคันกั้นน้ำกับเขาอยู่แล้วเชียว  แต่เมื่อดูข่าวน้ำทะลักคันถุงทรายเข้าท่วมตามที่ต่าง ๆ แล้วก็เลยตัดสินใจใหม่ว่า หากจะท่วมก็ปล่อยหรือยอมให้ท่วมไปเลยดีกว่า เพราะทำไปก็คงไม่รอดหรือรอดยาก เพราะน้ำจะมุดมาทางไหนก็ไม่รู้ เช่น ทางท่อระบายน้ำ เป็นต้น