บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

รูปขั้นตอนการก่อสร้าง Diaphragm Walls

รูปภาพ
สรุปภาพรวมการก่อสร้างไดอะแฟรมวอลล์

Diaphragm Wall

รูปภาพ
กำแพงพืดชนิดขุด - หล่อในที่ เป็นกำแพงทึบน้ำ มีความแข็งแกร่ง ( Rigid ) หากสามารถหล่อแผงคอนกรีตในที่ได้ดี อาการโก่งแอ่นด้านข้างขณะขุดดินจะน้อยมาก เหมาะกับงานขุดลึกมาก ๆ ในบริเวณที่มีอาคารข้างเคียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการใช้เข็มพืดชนิดอื่น ซึ่งมีการเขย่าสั่นสะเทือน อาจทำอันตรายต่อพื้นที่ข้างเคียงได้ ถึงอย่างไรก็ดี การก่อสร้างด้วยระบบนี้ทำได้ยาก เครื่องจักรราคาแพง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างแพง และใช้ระยะเวลาในการทำงานก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น               

รอยร้าวในอาคาร และการตรวจสอบ (ต่อ)

รูปภาพ
2.4.2      รอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง                       เมื่อโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลังจะเกิดการแอ่นตัวมาก รอยร้าวส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณช่วงกลางของโครงสร้างที่รับน้ำหนักบรรทุกนั้นๆ

รอยร้าวในอาคาร และการตรวจสอบ

รูปภาพ
                รอยร้าว เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบว่ามีสิ่งปกติเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่พบเห็นรอยร้าวเกิดขึ้นในอาคารควรวิเคราะห์หาสาเหตุให้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไรเพื่อจะทำการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและควรแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการวิบัติพังทลายของอาคารในภายหลัง                 การวิเคราะห์หาสาเหตุการแตกร้าวนั้นจำเป็นต้องรู้จักรูปแบบและลักษณะของการแตกร้าวชนิดต่าง ๆ เช่น อาคารบางหลังพบว่ามีรอยแตกร้าวที่ท้องพ้นและท้องคานแทบทุกตัว เจ้าของอาคารมีความเข้าใจว่าฐานรากทรุดตัวจึงมีความคิดว่าจะแก้ไขด้วยการเสริมฐานราก แต่เมื่อสำรวจการทรุดตัวแล้วกลับไม่พบว่าฐานรากมีการทรุดตัวแต่อย่างใด การเสริมฐานรากจึงต้องระงับไปเปลี่ยนเป็นการเสริมโครงสร้างแทน จะเห็นได้ว่าถ้าวิเคราะห์สาเหตุของรอยร้าวผิดพลาดอาจทำให้หลงทางแก้ไขไม่ถูกวิธีเสียทั้งเงินและเวลาที่อาจต้องกลับมาแก้ไขซ้ำอีก รูปแบบและลักษณะของรอยร้าวจึงนับเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจเป็นอันดับแร...

การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม

รูปภาพ
                 การแก้ไขฐานรากอาคารทรุดตัวนั้นสามารถแก้ไขโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปช่วยรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่ได้ การจะกำหนดให้เสาเข็มที่เสริมเข้าไปนั้นรับน้ำหนักอย่างไรขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัวและลักษณะการทรุดตัวโดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในลักษณะต่างๆ ดังนี้                 1)   กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากบางฐานในอาคารเกิดการทรุดตัวมากจนอาคารเสียหาย ควรแก้ไขด้วยการทำเสาเข็มเสริมเสาเข็มใหม่เฉพาะฐานรากที่เกิดการทรุดตัวเท่านั้นเพื่อหยุดยั้งการทรุดตัว   เสาเข็มที่เสริมเข้าไปใหม่ควรมีความยาวใกล้เคียงกับเสาเข็มเดิม   และไม่ควรใส่ปลายเสาเข็มหยั่งลงในชั้นดินต่างชนิดกับเสาเข็มเดิม มิฉะนั้นฐานรากที่ไม่ได้เสริมเสาเข็มจะทรุดตัวมากกว่าในภายหลัง                 2) ...

เพลงรักไม่ต้องการเวลา เคลีย

รูปภาพ

Tangent Pile Walls

รูปภาพ
Tangent Pile Walls คือวิธีการทำเสาเข็มเจาะหล่อในที่ เป็นแนวเรียงต่อเนื่องกันโดยมีระยะห่างระหว่างเสาเข็มรอบบริเวณที่จะขุดหรือบริเวณที่จะทำเป็นกำแพงกันดิน แล้วทำการค้ำยันภายในเมื่อขุดดินออก อดีตกรุงเทพ ฯ การทำเข็มเรียงต่อเนื่องจะใช้เสาเข็มไม้ตอกเรียงต่อเนื่องกันซึ่งเข็มไม้จะมีความยาวตั้งแต่ 4 .0 0 เมตร ถึง 12.00 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกที่จะขุด การใช้เสาเข็มไม้จะมีความยาวจำกัด และกำลังรับแรงของไม้ต่ำทำให้การขุดลึกมากไม่ได้ ปัจจุบันจึงนิยมใช้เข็มเหล็ก เข็มคอนกรีต และเข็มเจาะคอนกรีตหล่อในที่

Secant Pile Walls

รูปภาพ
Secant Pile Walls คือกำแพงเสาเข็มเจาะซ้อนโดยใช้หลักการเจาะเสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ซ้อนเฉือนกันเรียงเป็นแนวยาวรอบบริเวณที่ขุด ซึ่งเสาเข็มเจาะจะมี 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่า Primary Pile เป็นเข็มเจาะเนื้อคอนกรีตล้วน ๆ กำลังต่ำ ไม่มีการเสริมเหล็ก และชุดที่สอง เรียกว่า Secondary Pile เป็นเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป วัตถุประสงค์ของการทำกำแพงเข็มเจาะซ้อนเพื่อทำเป็นกำแพงกันดินขนาดใหญ่ที่มีคุณสมบัติเป็นกำแพงทึบน้ำในมาตรฐานเดียวกับ Diaphragm Wall กำแพงกันดินชั้นนี้มีความแข็งแกร่งในทิศทางดิ่งแต่จะด้อยกว่าในทิศทางราบ