26/10/2554
ผศ.โชติไกร ไชยวิจารณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต
dcm2539@gmail.com , www.engineer-thai.com
จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้และวันก่อน ๆ พบว่า
๑.ปริมาณน้ำเหนือ
- ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ เวลา ๐๖.๐๐ น. มีปริมาณ ๓๙๓๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๔๐๓๙ และ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ
แสดงว่าน้ำจากทางเหนือลดลงแล้วชัดเจน
- ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา เวลา ๐๖.๐๐ น. วัดปริมาณไม่ได้เนื่องจากน้ำล้นตลิ่ง แต่วัดจากเส้นโค้งน้ำหรือ rating curve ได้ปริมาณ ๔๔๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๓๕๐๓ และ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์นี้อาจเป็นไปได้ว่ามวลของน้ำที่ยังคงมีปริมาณมากที่ไหลลงมาจากทางตอนเหนือ ยังคงเป็นตัวเพิ่มปริมาณน้ำทุ่ง เมื่อผนวกกับน้ำทุ่งที่ยังคงมีปริมาณมากอยู่แล้ว และน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ณ เวลาเดียวกันสูงขึ้นเป็น ๒.๓๓ เมตร (คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์) จึงทำให้เกิดการเอ่อของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาย้อนขึ้นไปจนถึงจุดนี้ ทำให้ปริมาณน้ำและระดับน้ำกลับเพิ่มขึ้นเป็น ๔.๒๐ เมตร (ตามเส้นประสีน้ำเงิน) เพราะการไหลไหลได้ช้าลง และทำให้น้ำล้นตลิ่งตามรูปที่ ๑ เนื่องจากคันกั้นน้ำด้านซ้ายอยู่ที่ ๔.๐๐ เมตรเท่านั้น
หากวิเคราะห์ต่อไปพบว่ามวลน้ำสูงสุดน่าจะยังอยู่แถวนี้ และน่าจะเดินทางถึงกรุงเทพ ฯ ประมาณตอนสายของวันที่ ๒๗ ต.ค.(จากการคำนวนของกรมชลประทานอยู่ที ๒๘ ชั่ว)
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับน้ำส่วนนี้คือ ๑. นอกจากจะทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้เกิดข้อ ๒. คือกองทัพน้ำทุ่งที่ลงมาทางเหนือจะมีปริมาณน้ำมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำเหนือประตูระบายน้ำคลองรังสิตสายล่างที่เป็นด่านสุดท้ายทะลักเข้ากรุงเทพ ฯ มากขึ้นและทำให้น้ำท่วมทางตอนเหนือของกรุงเทพ ฯ ได้แก่ เขตสายไหม ดอนเมือง ฯลฯ มากขึ้นด้วย และจะไหลบ่าเข้าท่วมบริเวณกรุงเทพ ฯ ชั้นในตอไปใน ๑-๒ วันนี้
๒. ระดับน้ำทะเลหนุน ตามรูปที่ ๒ และ ๓
เช้าวันที่ ๒๗ ต.ค. เวลา ๗.๐๐ น. และ ๑๗.๑๘ น. ระดับพยากรณ์ของกรมอุทกศาสตร์จะสูงสุดอยู่ที่ ๑.๖๙ เมตรทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง ๒.๕๑ เมตร ซึ่งจะเท่ากับความสูงของคันกั้นน้ำของกรุงเทพ ฯ ที่ปากคลองตลาดพอดี
และในวันที่ ๒๘-๓๑ ต.ค. ที่น้ำหนุนสูงสุดที่ ๑.๘๓ เมตร ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น ๒.๖๕ เมตร ซึ่งใกล้เคียงตามที่ผู้เขียนเคยคาดการณ์ไว้ที่ ๒.๖๗ เมตร หรืออาจสูงกว่านั้นได้อีกหากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ซึ่งระดับดังกล่าวก็จะสูงกว่าคันกั้นน้ำของกรุงเทพ ฯ ที่ ๒.๕๐ เมตร
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_srbiMpsthne6ibztSUPTS6S0psq-vuNUptQBswtX0THaJyF6GUdvOhnKcTKetL9BYj1wQfvnrV5qYsiAXDh2BjUYGduRR3WbbMQ0LEF-w_SEvvSewPdVB_dD4MlSFMbD3Fzcw8UAU=s0-d)
รูปที่ ๑ การเดินทางของน้ำเหนือในแม่น้ำเจ้าพระยา
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uNJws9YE4wQ7V4mFhJP8mJKty6nTky_1PZVOV-6ha-n_Kftibi75vF5Jno4BRFxr3Yf1c6VmT5kFChlzU56_ll8_98NqlKFIqV9j_otMJdB6dWk695VFD7R0hDeUmQBBL7xwqn3w=s0-d)
รูปที่ ๒ ระดับพยากรณ์น้ำทะเลหนุนของกรมอุทกศาสตร์
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_svDpUczE4VkmgnhXlHFoG5uMMIUpLeX5tMVrIAbWeMLga99p-GJ6-_uEApnS7CWT8mhmZkNUw_FqkJp45H6lbQ0fiyanQZ6YOyZlBv0qyu5_dRSY1Zta2I9r4IaqlXVvI-HRRgkyU=s0-d)
รูปที่ ๓ ระดับพยากรณ์ของกรมอุทกศาสตร์
สรุป ด้วยสถานการณ์ขณะนี้ กรุงเทพ ฯ คงไม่รอดจากภัยน้ำท่วมแน่นอน และขณะที่เขียนบทความนี้ ทางศปภ.เองก็ออกมายอมรับและบอกให้คนกรุงเทพ ฯ ทำใจและเตรียมเผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่แล้ว
ผศ.โชติไกร ไชยวิจารณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต
dcm2539@gmail.com , www.engineer-thai.com
จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้และวันก่อน ๆ พบว่า
๑.ปริมาณน้ำเหนือ
- ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ เวลา ๐๖.๐๐ น. มีปริมาณ ๓๙๓๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๔๐๓๙ และ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ
แสดงว่าน้ำจากทางเหนือลดลงแล้วชัดเจน
- ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา เวลา ๐๖.๐๐ น. วัดปริมาณไม่ได้เนื่องจากน้ำล้นตลิ่ง แต่วัดจากเส้นโค้งน้ำหรือ rating curve ได้ปริมาณ ๔๔๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๓๕๐๓ และ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์นี้อาจเป็นไปได้ว่ามวลของน้ำที่ยังคงมีปริมาณมากที่ไหลลงมาจากทางตอนเหนือ ยังคงเป็นตัวเพิ่มปริมาณน้ำทุ่ง เมื่อผนวกกับน้ำทุ่งที่ยังคงมีปริมาณมากอยู่แล้ว และน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ณ เวลาเดียวกันสูงขึ้นเป็น ๒.๓๓ เมตร (คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์) จึงทำให้เกิดการเอ่อของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาย้อนขึ้นไปจนถึงจุดนี้ ทำให้ปริมาณน้ำและระดับน้ำกลับเพิ่มขึ้นเป็น ๔.๒๐ เมตร (ตามเส้นประสีน้ำเงิน) เพราะการไหลไหลได้ช้าลง และทำให้น้ำล้นตลิ่งตามรูปที่ ๑ เนื่องจากคันกั้นน้ำด้านซ้ายอยู่ที่ ๔.๐๐ เมตรเท่านั้น
หากวิเคราะห์ต่อไปพบว่ามวลน้ำสูงสุดน่าจะยังอยู่แถวนี้ และน่าจะเดินทางถึงกรุงเทพ ฯ ประมาณตอนสายของวันที่ ๒๗ ต.ค.(จากการคำนวนของกรมชลประทานอยู่ที ๒๘ ชั่ว)
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับน้ำส่วนนี้คือ ๑. นอกจากจะทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้เกิดข้อ ๒. คือกองทัพน้ำทุ่งที่ลงมาทางเหนือจะมีปริมาณน้ำมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำเหนือประตูระบายน้ำคลองรังสิตสายล่างที่เป็นด่านสุดท้ายทะลักเข้ากรุงเทพ ฯ มากขึ้นและทำให้น้ำท่วมทางตอนเหนือของกรุงเทพ ฯ ได้แก่ เขตสายไหม ดอนเมือง ฯลฯ มากขึ้นด้วย และจะไหลบ่าเข้าท่วมบริเวณกรุงเทพ ฯ ชั้นในตอไปใน ๑-๒ วันนี้
๒. ระดับน้ำทะเลหนุน ตามรูปที่ ๒ และ ๓
เช้าวันที่ ๒๗ ต.ค. เวลา ๗.๐๐ น. และ ๑๗.๑๘ น. ระดับพยากรณ์ของกรมอุทกศาสตร์จะสูงสุดอยู่ที่ ๑.๖๙ เมตรทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง ๒.๕๑ เมตร ซึ่งจะเท่ากับความสูงของคันกั้นน้ำของกรุงเทพ ฯ ที่ปากคลองตลาดพอดี
และในวันที่ ๒๘-๓๑ ต.ค. ที่น้ำหนุนสูงสุดที่ ๑.๘๓ เมตร ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น ๒.๖๕ เมตร ซึ่งใกล้เคียงตามที่ผู้เขียนเคยคาดการณ์ไว้ที่ ๒.๖๗ เมตร หรืออาจสูงกว่านั้นได้อีกหากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ซึ่งระดับดังกล่าวก็จะสูงกว่าคันกั้นน้ำของกรุงเทพ ฯ ที่ ๒.๕๐ เมตร
รูปที่ ๑ การเดินทางของน้ำเหนือในแม่น้ำเจ้าพระยา
รูปที่ ๒ ระดับพยากรณ์น้ำทะเลหนุนของกรมอุทกศาสตร์
รูปที่ ๓ ระดับพยากรณ์ของกรมอุทกศาสตร์
สรุป ด้วยสถานการณ์ขณะนี้ กรุงเทพ ฯ คงไม่รอดจากภัยน้ำท่วมแน่นอน และขณะที่เขียนบทความนี้ ทางศปภ.เองก็ออกมายอมรับและบอกให้คนกรุงเทพ ฯ ทำใจและเตรียมเผชิญกับภัยน้ำท่วมใหญ่แล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น