Diaphragm Wall

กำแพงพืดชนิดขุด-หล่อในที่ เป็นกำแพงทึบน้ำ มีความแข็งแกร่ง (Rigid) หากสามารถหล่อแผงคอนกรีตในที่ได้ดี อาการโก่งแอ่นด้านข้างขณะขุดดินจะน้อยมาก เหมาะกับงานขุดลึกมาก ๆ ในบริเวณที่มีอาคารข้างเคียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการใช้เข็มพืดชนิดอื่น ซึ่งมีการเขย่าสั่นสะเทือน อาจทำอันตรายต่อพื้นที่ข้างเคียงได้ ถึงอย่างไรก็ดี การก่อสร้างด้วยระบบนี้ทำได้ยาก เครื่องจักรราคาแพง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างแพง และใช้ระยะเวลาในการทำงานก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น              

 2.3.4.1 พฤติกรรมของ Diaphragm Wall
                                โครงสร้าง Diaphragm Wall เป็นโครงสร้างกำแพงแบบเป็นแผงต่อกันตามความยาวของพื้นที่ที่ขุดดิน ทำหน้าที่ป้องกันดินด้านข้าง การเคลื่อนตัวของอาคารข้างเคียง ตลอดจนรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง และแนวราบลักษณะพฤติกรรมจะคล้ายกับ Secant Pile Wall มาก แต่จะสามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำใต้ดินได้ดีกว่าเนื่องจากมี Construction Joints น้อยกว่า สำหรับพื้นที่กรุงเทพ ฯ ที่มีพื้นที่เป็นชั้นดินเหนียวอยู่ชั้นบนหนาประมาณ 20-25 เมตร ซึ่งรองรับด้วยชั้นทรายที่มีค่าแรงดันน้ำต่ำ ปัญหาด้านความทึบน้ำของ Diaphragm Wall มีน้อยมาก ตลอดทั้งปัญหาการเคลื่อนตัวของผนังกันดินจะเกิดขึ้นน้อยมากเช่นกัน
                2.3.4.2 งานก่อสร้าง Diaphragm Wall
                                ลักษณะกำแพงกันดินชนิดขุด-หล่อในที่ ซึ่งจัดเป็นกำแพงกันดิน (Retaining Wall) และกำแพงทึบน้ำ (Impervious Cut off Wall) ส่วนมากจะเป็นงานสำหรับอาคารสูง หรือต้องการทำเป็นสถานีใต้ดินเช่น สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น โดยทั่วไปการก่อสร้าง Diaphragm Wall จะมีอยู่ 2 ประเภท ตามลักษณะงานที่ใช้ ดังนี้
                                                1)  Reinforced Concrete Diaphragm Wall เป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ก่อสร้างหล่อกับที่ในดิน ดังแสดงในรูปที่ 2.12
                                                2) Cement Bentonite Slurm Diaphragm Wall หรือ Applied as Slurry Wall เป็นกำแพง Cement Bentonite Slurry ซึ่งเป็นการก่อสร้างชนิดไม่มีเหล็กเสริม ที่ก่อสร้างหล่อกับที่ในดิน ดังแสดงในรูปที่ 2.13




C = แผงปิด (Closure Panel)
P = แผงปฐมภูมิ (Primary Panel)
S = แผงทุติยภูมิ (Secondary Panel)
B = เสาเข็มแบร์เร็ต (Barrette) เสาเข็มที่รับน้ำหนัก Diaphragm Wall

รูปที่ 2.12 ลักษณะการก่อสร้างชนิดคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce Concrete Diaphragm Wall) [4]


P = แผงปฐมภูมิ (Primary Panel)
S = แผงทุติยภูมิ (Secondary Panel)

รูปที่ 2.13 ลักษณะการก่อสร้างที่ไม่มีเหล็กเสริม (Applied as Slurry Wall) [4]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเสาและคาน (Skeleton Frame or Column and Beam)