บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011
รูปภาพ
26/10/2554 ผศ.โชติไกร  ไชยวิจารณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต dcm2539@gmail.com    , www.engineer -thai.com จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้และวันก่อน ๆ พบว่า ๑.ปริมาณน้ำเหนือ - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ เวลา ๐๖.๐๐ น. มีปริมาณ ๓๙๓๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๔๐๓๙ และ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ แสดงว่าน้ำจากทางเหนือลดลงแล้วชัดเจน - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา เวลา ๐๖.๐๐ น. วัดปริมาณไม่ได้เนื่องจากน้ำล้นตลิ่ง แต่วัดจากเส้นโค้งน้ำหรือ rating curve ได้ปริมาณ ๔๔๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานและวานซืนที่ ๓๕๐๓ และ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์จากเหตุการณ์นี้อาจเป็นไปได้ว่ามวลของน้ำที่ยังคงมีปริมาณมากที่ไหลลงมาจากทางตอนเหนือ ยังคงเป็นตัวเพิ่มปริมาณน้ำทุ่ง เมื่อผนวกกับน้ำทุ่งที่ยังคงมีปริมาณมากอยู่แล้ว และน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นและทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ณ เวลาเดียวกันสูงขึ้นเป็น ๒.๓๓ เมตร (คาดการณ์โดยกรมอุทกศาสตร์) จึงทำให้เกิดการเอ่อของน้ำใ...
24/10/2554 ผศ.โชติไกร  ไชยวิจารณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต dcm2539@gmail.com    , http://www.engineer-thai.com/ -thai.com จากการติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาในวันนี้ ต่อจากวานนี้ พบว่า - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านนครสวรรค์ มีปริมาณ ๔๑๒๘ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานที่ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่าน อ. บางไทร อยุธยา มีปริมาณ ๓๔๑๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานที่ ๓๖๙๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แสดงว่ายอดของมวลน้ำสูงสุดได้ผ่านจุดเหล่านี้ไปแล้ว  แต่กลับพบว่า - ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสะพานพระราม ๘ ที่กรุงเทพ ฯ มีปริมาณ ๔๓๐๓ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่ ๔๒๗๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แสดงว่ายอดของมวลน้ำสูงสุดอาจยังไม่ผ่านจุดนี้  และผลจากการที่ปริมาณน้ำที่จุดนี้เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาดสูงขึ้นถึงระดับ ๒.๓๔ เมตร ในวันนี้ (คาดการณ์ของกรมชลประทาน) ในขณะที่เมื่อวานอยู่ที่ ๒.๒๕ เมตร โดยเพิ่มขึ้นถึง ๑๑ เซนติเมตร ทั้งที่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเพียง ๓๑ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และนี่คือสัญ...

ถุงทราย = คันกั้นน้ำ...แม้ไม่ใช่ทางออกสุดท้าย

พ.ศ.๒๕๕๔ ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถุงทรายหรือกระสอบทรายถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ และเอกชน จนถึงคนทั่วไป ต่างก็ขวนขวายวิ่งซื้อ วิ่งหาถุงทรายกันยกใหญ่ จนกระทั่งขาดตลาดและทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากกระสอบละไม่กี่บาทจนถึง ๔๐-๕๐ บาท ซึ่งเกือบครึ่งของราคาข้าวสารทีเดียว จนผมเองคิดจะไปซื้อข้าวสารมาทำคันกั้นน้ำกับเขาอยู่แล้วเชียว  แต่เมื่อดูข่าวน้ำทะลักคันถุงทรายเข้าท่วมตามที่ต่าง ๆ แล้วก็เลยตัดสินใจใหม่ว่า หากจะท่วมก็ปล่อยหรือยอมให้ท่วมไปเลยดีกว่า เพราะทำไปก็คงไม่รอดหรือรอดยาก เพราะน้ำจะมุดมาทางไหนก็ไม่รู้ เช่น ทางท่อระบายน้ำ เป็นต้น

น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)

รูปภาพ
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 70 ปีมาแล้ว ดูผู้คนก็ไม่ค่อยทุกข์ร้อนเท่าไหร่เพราะรถราไม่มาก แต่หากเหตุการณ์นี้ย้อนกลับมาอีกที...ไม่อยากคิดครับว่ากรุงเทพฯวันนั้นจะเป็นอย่างไร

การตรวจสอบความสมบูรณ์ของ Diaphragm Wall

รูปภาพ
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของ Diaphragm Wall มีรายละเอียดดังแสดงไว้ในรูปที่ 4. 16 การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้าง Diaphragm wall ด้วยวิธี Sonic Logging Test) เป็นภาพทดลองความสมบูรณ์ของเนื้อคอนกรีตโดยการส่งผ่านคลื่นเสียง ( Ultra Sonic Pulse ) จากหัวส่งสัญญาณไปยังหัวรับสัญญาณ โดยที่ระยะเวลาที่คลื่นใช้ในการเดินทางผ่านเนื้อคอนกรีตที่มีคุณสมบัติคงที่จะมีค่าเท่ากันตลอดช่วงความยาวของ Diaphragm wall แต่ในกรณีที่ช่วงใดช่วงหนึ่งมีสภาพเนื้อคอนกรีตเปลี่ยนแปลงไป ระยะเวลาที่คลื่นใช้ในการเดินทางจากหัวส่งสัญญาณไปยังตัวรับสัญญาณจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากความเร็วคลื่นที่ใช้ในการเดินทางเคลื่อนที่มีการเปลี่ยนแปลง การทดสอบด้วยวิธีดังกล่าวสามารถดำเนินได้ทั้งในโครงสร้างเสาเข็มเจาะ   เสาเข็ม (Barrette) และ Diaphragm Wall เพราะเป็นการทดสอบที่สะดวก รวดร็ว และสามารถทำการทดสอบได้ตลอดทั้งต้น ลักษณะโครงสร้างสภาพไม่สมบรูณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น 1) ความเป็นโพรงของเนื้อคอนกรีตเนื่องจากการจี้ ( Vibration ) ไม่เพียงพอในขณะเทคอนกรีต 2) การชะล้างของปูนซีเมนต์เกิดจากการที่น้ำใต้ดินไหลผ่าน 3) รอยแตกร้าว...

การทำเสาเข็มเจาะในต่างประเทศ

รูปภาพ
มาดูการทำเสาเข็มเจาะในต่างประเทศกันหน่อยว่าต่างจากบ้านเราอย่างไร

การเทคอนกรีตเสาเข็มเจาะที่ไม่ถูกต้อง

รูปภาพ
การเทคอนกรีตเสาเข็มเจาะที่เห็นในวีดีโอนี้น่าจะเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง   เพราะอาจทำให้เกิดการแยกตัวของคอนกรีตได้ ทางที่ดีควรใช้กรวยรองรับและมีท่อเท เพื่อป้องกันปัญหาจะดีกว่ามั้ยครับ

การตอกเข็มสั้นในกรุงเทพฯและใกล้เคียง

รูปภาพ
การตอกเข็มสั้นในกรุงเทพฯและใกล้เคียงดูเหมือนง่ายจังเลย ว่ามั้ย แต่จริงๆแล้วมันเป็นงานที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเลยนะ ดูในวีดีโอชุดนี้ซิ

ระบบเสาและคาน (Skeleton Frame or Column and Beam)

หลักการของโครงสร้างแบบเสาและคาน ก็คือ คานรับน้ำหนักจากพื้นแล้วส่งน้ำหนักลงเสา  ความแตกต่างของโครงสร้างแบบหล่อคอนกรีตสำเร็จรูป กับโครงสร้างแบบหล่อคอนกรีตกับที่    คือโครงสร้างเสาและคานสำเร็จรูปมักจะมีแนวคานอยู่เพียงแนวใดแนวหนึ่งเท่านั้น ไม่มีคานวิ่งเข้ามาหาเสาทั้งสี่ด้าน เหมือนกับการหล่อกับที่ ทั้งนี้เพราะจะทำให้เกิดข้อยุ่งยากในการผลิตและติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นอันมาก ดังนั้น ในระบบสำเร็จรูปจะมีคานเฉพาะในแนวที่รับน้ำหนักจากพื้นเท่านั้น ส่วนในอีกแนวหนึ่งซึ่งไม่มีคานยึดนั้นจะถูกยึดโดยแผ่นพื้นหรือผนัง วิธีการต่อชิ้นส่วนของเสาและคานคอนกรีตเข้าด้วยกัน มีความยากมากกว่าระบบแผ่นพื้นรับน้ำหนักมาก วิธีการต่อรอยต่อระหว่างเสากับคาน หลายวิธีก็ได้มาจากการเลียนแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก จนมีผู้กล่าวว่าผู้ที่จะออกแบบโครงสร้างสำเร็จรูปแบบเสาและคานได้ดี ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจและศึกษารอยต่อของโครงสร้างไม้มาเป็นอย่างดีมาก่อน ข้อดีของระบบนี้ ก็คือ ขนาดของชิ้นส่วนต่าง ๆ มีขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบาทำให้ขนยกง่าย อาจใช้อุปกรณ์ยกที่มีขนาดเล็ก ทำให้การขนส่งมีความสะดวกมาก      ...

ระบบโครงสร้างในการก่อสร้างแบบสำเร็จรูป

ระบบโครงสร้างสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 1,000 ระบบขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นระบบ ที่พัฒนาขึ้นในประเทศยุโรปทางตะวันออกและประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ระบบเหล่านี้สามารถแบ่งได้หลายลักษณะ   เช่น  แบ่งตามชนิดของโครงสร้าง แบ่งตามชนิดของวัสดุที่เลือกใช้แบ่งตามรูปแบบของชิ้นส่วนที่ประกอบกัน แบ่งตามลักษณะการก่อสร้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1 ระบบเสาและคาน ( Skeleton Frame or Column and Beam) 2 ระบบเสาและแผ่นพื้น ( Beamless Skeleton System) 3 ระบบแผ่นผนังรับน้ำหนัก ( Panel System) 4 ระบบกล่อง ( Box System หรือ Modular System) ฯลฯ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละแบบจะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆไป

การก่อสร้างในระบบสำเร็จรูป

การก่อสร้างอาคารคอนกรีตระบบสำเร็จรูป เป็นระบบการก่อสร้างโดยวิธีการใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปมีผู้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปไว้ดังนี้ ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ การหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตในสถานที่ ใด ๆ (เช่น โรงงาน, บริเวณที่ก่อสร้าง) ก่อนแล้วนำไปประกอบกันเป็นโครงสร้าง ระบบก่อสร้างสำเร็จรูป (Prefabrication) คือระบบการก่อสร้างอาคารที่ผลิตชิ้นส่วนอาคารออกเป็นส่วน ๆ แล้วนำมาติดตั้งประกอบกัน ณ ที่ก่อสร้าง หรือผลิตจากโรงงานเสร็จแล้ว สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปใช้สอยได้ทันที ทั้งนี้วัสดุอาจจะเป็นคอนกรีตหรือวัสดุอื่นก็ได้ การหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป (Precasting in Reinforced Concrete) คือ การหล่อคอนกรีตที่มีการเสริมเหล็ก เพื่อให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ ตามรูปทรงของแม่แบบ (Mould Shape) ที่สร้างไว้ ซึ่งการเสริมเหล็กนั้นจะกระทำไปพร้อมกับการหล่อแบบคอนกรีต เมื่อหล่อแบบออกมาเป็นชิ้นแล้วจะไม่สามารถดัดแปลงรูปทรงได้อีก การหล่อแบบดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นการหล่อจากโรงงาน หรือการหล่อในบริเวณหน่วยก่อสร้าง หลังจากแบบคอนกรีตดังกล่าวพร้อมใช้งาน ก็...

รูปขั้นตอนการก่อสร้าง Diaphragm Walls

รูปภาพ
สรุปภาพรวมการก่อสร้างไดอะแฟรมวอลล์

Diaphragm Wall

รูปภาพ
กำแพงพืดชนิดขุด - หล่อในที่ เป็นกำแพงทึบน้ำ มีความแข็งแกร่ง ( Rigid ) หากสามารถหล่อแผงคอนกรีตในที่ได้ดี อาการโก่งแอ่นด้านข้างขณะขุดดินจะน้อยมาก เหมาะกับงานขุดลึกมาก ๆ ในบริเวณที่มีอาคารข้างเคียงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการใช้เข็มพืดชนิดอื่น ซึ่งมีการเขย่าสั่นสะเทือน อาจทำอันตรายต่อพื้นที่ข้างเคียงได้ ถึงอย่างไรก็ดี การก่อสร้างด้วยระบบนี้ทำได้ยาก เครื่องจักรราคาแพง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างแพง และใช้ระยะเวลาในการทำงานก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น               

รอยร้าวในอาคาร และการตรวจสอบ (ต่อ)

รูปภาพ
2.4.2      รอยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง                       เมื่อโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลังจะเกิดการแอ่นตัวมาก รอยร้าวส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณช่วงกลางของโครงสร้างที่รับน้ำหนักบรรทุกนั้นๆ

รอยร้าวในอาคาร และการตรวจสอบ

รูปภาพ
                รอยร้าว เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบว่ามีสิ่งปกติเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่พบเห็นรอยร้าวเกิดขึ้นในอาคารควรวิเคราะห์หาสาเหตุให้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไรเพื่อจะทำการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและควรแก้ไขเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการวิบัติพังทลายของอาคารในภายหลัง                 การวิเคราะห์หาสาเหตุการแตกร้าวนั้นจำเป็นต้องรู้จักรูปแบบและลักษณะของการแตกร้าวชนิดต่าง ๆ เช่น อาคารบางหลังพบว่ามีรอยแตกร้าวที่ท้องพ้นและท้องคานแทบทุกตัว เจ้าของอาคารมีความเข้าใจว่าฐานรากทรุดตัวจึงมีความคิดว่าจะแก้ไขด้วยการเสริมฐานราก แต่เมื่อสำรวจการทรุดตัวแล้วกลับไม่พบว่าฐานรากมีการทรุดตัวแต่อย่างใด การเสริมฐานรากจึงต้องระงับไปเปลี่ยนเป็นการเสริมโครงสร้างแทน จะเห็นได้ว่าถ้าวิเคราะห์สาเหตุของรอยร้าวผิดพลาดอาจทำให้หลงทางแก้ไขไม่ถูกวิธีเสียทั้งเงินและเวลาที่อาจต้องกลับมาแก้ไขซ้ำอีก รูปแบบและลักษณะของรอยร้าวจึงนับเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจเป็นอันดับแร...

การแก้ไขปัญหาอาคารทรุดตัวของอาคารเนื่องจากเสาเข็ม

รูปภาพ
                 การแก้ไขฐานรากอาคารทรุดตัวนั้นสามารถแก้ไขโดยการเสริมเสาเข็มเข้าไปช่วยรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่ได้ การจะกำหนดให้เสาเข็มที่เสริมเข้าไปนั้นรับน้ำหนักอย่างไรขึ้นอยู่กับผลการวิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัวและลักษณะการทรุดตัวโดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาในลักษณะต่างๆ ดังนี้                 1)   กรณีเสาเข็มเดิมของอาคารเป็นเสาเข็มสั้นหรือปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อน มีฐานรากบางฐานในอาคารเกิดการทรุดตัวมากจนอาคารเสียหาย ควรแก้ไขด้วยการทำเสาเข็มเสริมเสาเข็มใหม่เฉพาะฐานรากที่เกิดการทรุดตัวเท่านั้นเพื่อหยุดยั้งการทรุดตัว   เสาเข็มที่เสริมเข้าไปใหม่ควรมีความยาวใกล้เคียงกับเสาเข็มเดิม   และไม่ควรใส่ปลายเสาเข็มหยั่งลงในชั้นดินต่างชนิดกับเสาเข็มเดิม มิฉะนั้นฐานรากที่ไม่ได้เสริมเสาเข็มจะทรุดตัวมากกว่าในภายหลัง                 2) ...

เพลงรักไม่ต้องการเวลา เคลีย

รูปภาพ

Tangent Pile Walls

รูปภาพ
Tangent Pile Walls คือวิธีการทำเสาเข็มเจาะหล่อในที่ เป็นแนวเรียงต่อเนื่องกันโดยมีระยะห่างระหว่างเสาเข็มรอบบริเวณที่จะขุดหรือบริเวณที่จะทำเป็นกำแพงกันดิน แล้วทำการค้ำยันภายในเมื่อขุดดินออก อดีตกรุงเทพ ฯ การทำเข็มเรียงต่อเนื่องจะใช้เสาเข็มไม้ตอกเรียงต่อเนื่องกันซึ่งเข็มไม้จะมีความยาวตั้งแต่ 4 .0 0 เมตร ถึง 12.00 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลึกที่จะขุด การใช้เสาเข็มไม้จะมีความยาวจำกัด และกำลังรับแรงของไม้ต่ำทำให้การขุดลึกมากไม่ได้ ปัจจุบันจึงนิยมใช้เข็มเหล็ก เข็มคอนกรีต และเข็มเจาะคอนกรีตหล่อในที่

Secant Pile Walls

รูปภาพ
Secant Pile Walls คือกำแพงเสาเข็มเจาะซ้อนโดยใช้หลักการเจาะเสาเข็มคอนกรีตหล่อในที่ซ้อนเฉือนกันเรียงเป็นแนวยาวรอบบริเวณที่ขุด ซึ่งเสาเข็มเจาะจะมี 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่า Primary Pile เป็นเข็มเจาะเนื้อคอนกรีตล้วน ๆ กำลังต่ำ ไม่มีการเสริมเหล็ก และชุดที่สอง เรียกว่า Secondary Pile เป็นเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป วัตถุประสงค์ของการทำกำแพงเข็มเจาะซ้อนเพื่อทำเป็นกำแพงกันดินขนาดใหญ่ที่มีคุณสมบัติเป็นกำแพงทึบน้ำในมาตรฐานเดียวกับ Diaphragm Wall กำแพงกันดินชั้นนี้มีความแข็งแกร่งในทิศทางดิ่งแต่จะด้อยกว่าในทิศทางราบ

แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน

รูปภาพ
โดย ผศ.โชติไกร ไชยวิจารณ์ 089 1357 859 ๑. ปัญหาและสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม ฝนตก...น้ำหลาก...น้ำท่วม ปรากฏการณ์นี้เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานและนับวันดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงเหมือนแผ่นดินไหวหรือไฟไหม้ แต่ก็ทำให้มีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากในหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง เมื่อมีเหตการณ์พายุฝนตกหนักและรุนแรง เป็นต้น หากลองวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในบ้านเราที่กำลังประสบกันอยู่ก็จะพบว่าน่าจะมาจากสาเหตุต่างๆดังนี้ คือ ๑. ๑ ปริมาณฝนที่ตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงฤดูฝน จากการที่ประเทศไทยของเราตั้งอยู่ในเขตมรสุม(Moonsoon) มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนึอสลับกันพัดผ่านเกือบตลอดปี อิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองได้ก่อให้เกิดผลต่างกันดังนี้ คือ